วันพุธที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2556

GERMANY

ประเทศเยอรมัน

เยอรมนี (เยอรมันDeutschlandอังกฤษGermany) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (เยอรมันBundesrepublik DeutschlandอังกฤษFederal Republic of Germany) เป็นประเทศในทวีปยุโรป พรมแดนทางทิศเหนือติดทะเลเหนือ เดนมาร์ก และทะเลบอลติก ทิศตะวันออกติดโปแลนด์และสาธารณรัฐเช็ก ทิศใต้ติดออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์ ทิศตะวันตกติดฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์ก เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ มีเมืองหลวงคือเบอร์ลิน
ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศเยอรมนีได้ถูกแบ่งเป็นสองส่วน เป็นประเทศเยอรมนีตะวันตกและประเทศเยอรมนีตะวันออก ก่อนจะกลับมารวมประเทศกันอีกครั้งในวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2533

การเมืองการปกครอง

เยอรมนีปกครองในรูปแบบสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ระบบการปกครองของเยอรมนีมีพื้นฐานจากเอกสารรัฐธรรมนูญในปี พ.ศ. 2492 ซึ่งเรียกว่า Grundgesetz (กฎหมายหลัก) การเรียกกฎหมายนี้ว่า Grundgesetz แทนที่จะเป็น Verfassung (รัฐธรรมนูญ) เป็นความตั้งใจที่ว่าจะถูกแทนที่โดยรัฐธรรมนูญเมื่อเยอรมนีได้รวมเป็นรัฐเดียว การแก้ไขกฎหมายหลักจะต้องใช้เสียงมากกว่าสองในสามของสมาชิกทั้งสองสภา มาตราที่เกี่ยวข้องกับสิทธิพื้นฐาน การแยกอำนาจ โครงสร้างสหพันธ์ และสิทธิในการต่อต้านความพยายามล้มล้างรัฐธรรมนูญนั้นคงอยู่ตลอดกาล ไม่สามารถแก้ไขได้ ชื่อ Grundgesetz ยังคงใช้หลังการรวมประเทศเยอรมนี ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี (เยอรมันBundeskanzlerอังกฤษChancellor) เป็นตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาล เป็นผู้ใช้อำนาจบริหาร คนปัจจุบันคืออังเกลา แมร์เคิล อำนาจนิติบัญญัติเป็นของรัฐสภาซึ่งประกอบไปด้วย Bundestag ซึ่งเป็นสภาผู้แทนราษฎร มีสมาชิกมาจากการเลือกตั้งโดยตรง และ Bundesrat เป็นสภาตัวแทนรัฐสิบหกรัฐของสหพันธ์ ตำแหน่งประธานาธิบดี (Bundespräsident) เป็นตำแหน่งประมุขแห่งรัฐ ได้รับเลือกจากที่ประชุมสหพันธ์ (Bundesversammlung) ซึ่งประกอบสมาชิกของ Bundestag และตัวแทนของแต่รัฐต่างๆ ในจำนวนเท่ากัน ประธานาธิบดีทำหน้าที่เป็นตัวแทนของสหพันธ์ ประธานาธิบดีคนปัจจุบันคือคริสเตียน วูฟฟ์ระบบพรรคการเมืองของเยอรมนีมีเพียงสองพรรคการเมืองหลักคือสหภาพคริสเตียนเดโมแครต และพรรคสังคมประชาธิปไตยเยอรมนี โดยจนถึงปัจจุบันนายกรัฐมนตรีมาจากเพียงสองพรรคนี้ อย่างไรก็ตาม ก็มีพรรคที่เล็กกว่าซึ่งมีบทบาทสำคัญอย่างพรรคประชาธิปไตยเสรีและกลุ่มพันธมิตร 90/กรีน ซึ่งมักเข้าเป็นพรรคร่วมรัฐบาลในรัฐบาลผสม

การแบ่งเขตการปกครอง

           เยอรมนีแบ่งการปกครองในระบบสหพันธรัฐ มีทั้งหมด 16 รัฐ โดยแต่ละรัฐ (เยอรมันBundesland - บุนเดสลันด์) จะมีรัฐบาลท้องถิ่นเป็นของตัวเองและจะมีกระทรวงการปกครองบริหารสูงสุดกระทรวงจะดูแลรัฐทุกรัฐของเยอรมนี
Karte Deutsche Bundesländer (nummeriert).svg

รัฐเมืองเอกพื้นที่
(ตารางกิโลเมตร)
ประชากร
1. บาเดิน-เวือร์ทเทมแบร์ก
Baden-Württemberg
ชตุทท์การ์ท
Stuttgart
35,75210,717,000
2. บาวาเรีย (ไบเอิร์น)
เยอรมัน :Bayern
อังกฤษ :Bavaria
มิวนิก
เยอรมัน :München
อังกฤษ :Munich
70,54912,444,000
3. เบอร์ลิน (นครรัฐ)
Berlin
เบอร์ลิน8923,400,000
4. บรันเดนบูร์ก
Brandenburg
พอทสดัม
Potsdam
29,4772,568,000
5. เบรเมิน (นครรัฐ)
Bremen
เบรเมิน404663,000
6. ฮัมบูร์ก (นครรัฐ)
Hamburg
ฮัมบูร์ก7551,735,000
7. เฮสเซิน
เยอรมัน :Hessen; อังกฤษ :Hesse
วีสบาเดิน
Wiesbaden
21,1156,098,000
8. เมคเลนบูร์ก-ฟอร์พอมเมิร์น
เยอรมัน :Mecklenburg-Vorpommern
อังกฤษ :Mecklenburg-Western Pomerania
ชเวริน
Schwerin
23,1741,720,000
9. นีเดอร์ซัคเซิน
เยอรมัน :Niedersachsen
อังกฤษ :Lower Saxony
ฮันโนเวอร์
เยอรมัน :Hannover
อังกฤษ :Hanover
47,6188,001,000
10. นอร์ดไรน์-เวสท์ฟาเลิน
เยอรมัน :Nordrhein-Westfalen
อังกฤษ :North Rhine-Westphalia
ดึสเซลดอร์ฟ
Düsseldorf
34,04318,075,000
11. ไรน์ลันด์-พฟัลซ์
เยอรมัน :Rheinland-Pfalz
อังกฤษ :Rhineland-Palatinate
ไมนซ์
Mainz
19,8474,061,000
12. ซาร์ลันด์
Saarland
ซาร์บรึคเคิน
Saarbrücken
2,5691,056,000
13. ซัคเซิน (แซกโซนี)
เยอรมัน :Sachsen; อังกฤษ :Saxony
เดรสเดิน
Dresden
18,4164,296,000
14. ซัคเซิน-อันฮัลท์
เยอรมัน :Sachsen-Anhalt
อังกฤษ :Saxony-Anhalt
มักเดบูร์ก
Magdeburg
20,4452,494,000
15. ชเลสวิก-โฮลชไตน์
Schleswig-Holstein
คีล
Kiel
15,7632,829,000
16. เทือริงเงิน
เยอรมัน :Thüringen; อังกฤษ :Thuringia
แอร์ฟูร์ท
Erfurt
16,1722,355,000

เศรษฐกิจ

           ประเทศเยอรมนีมีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) เป็นอันดับสี่ของโลกถัดจากสหรัฐอเมริกา จีน และญี่ปุ่น เยอรมนียังเป็นประเทศที่มีการส่งออกเป็นอันดับสามของโลก รองจากสหรัฐอเมริกา และประเทศจีน ปัญหาทางเศรษฐกิจที่สำคัญคืออัตราการจ้างงาน
ประเทศเยอรมนีได้ก่อตั้งบริษัทชื่อดังหลายสาขา เช่น เมอร์เซเดส-เบนซ์ บีเอ็มดับเบิ้ลยู เอาดี้ มายบัค ซีเมนส์ เป็นต้น มีตลาดหลักทรัพย์ในประเทศ 8 แห่งโดยมี ตลาดหลักทรัพย์แฟรงค์เฟิร์ต เป็นตลาดหลักทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุด และเป็นหนึ่งในตลาดหลักทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ตั้งแต่ประวัติของอุตสาหกรรมในประเทศเยอรมนีได้รับการควบคุมให้ผู้ริเริ่มและผู้รับผลประโยชน์ของเศรษฐกิจทั่วโลกมากกว่าที่เคย เยอรมนีเป็นผู้ส่งออกที่ใหญ่ที่สุดของโลกในปี ค.ศ.2002 ถึง ค.ศ.2008 และได้ทำการค้าตลาดร่วมกับจีนในปี 2009 และปัจจุบันผู้ส่งออกใหญ่เป็นอันดับสองและสร้างดุลการค้าใหญ่ ภาคบริการในรอบ 70% ของ GDP รวมอุตสาหกรรม 29.1%, 0.9% และภาคการเกษตร ผลิตภัณฑ์ของประเทศเยอรมนีส่วนใหญ่อยู่ในด้านวิศวกรรมโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมรถยนต์                

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

            เยอรมนีมีนักวิจัยที่โดดเด่นในสาขาวิทยาศาสตร์ต่างๆ ที่ได้รับรางวัลโนเบลถึง 103 รางวัล เช่น ผลงานของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ และ มักซ์ พลังค์ ถือเป็นรากฐานสำคัญของฟิสิกส์ยุคใหม่ และได้ถูกพัฒนาต่อๆมาโดยผลงานของแวร์เนอร์ ไฮเซนแบร์ก และ เฮอร์มันน์ ฟอน เฮล์มโฮลทซ์, และ Joseph von Fraunhofer และ Gabriel Daniel Fahrenheit วิลเฮล์ม คอนราด เรินต์เกน ผู้ค้นพบรังสี - X ซึ่งเรียกว่า Röntgenstrahlen (Röntgen รังสี) ในภาษาเยอรมันและอื่น ๆ อีกมาก ความสำเร็จนี้ทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี 1901 Aerospace engineer ชื่อ Wernher von Braun ผู้พัฒนาจรวดในยุคแรกและต่อมาเป็นสมาชิกสำคัญของนาซาและพัฒนาจรวด Saturn V Moon ซึ่งปูทางสำหรับความสำเร็จของโครงการ Apollo บาท งานของ Heinrich Rudolf Hertz ในด้านรังสีแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นความรู้ที่สำคัญในการพัฒนาโทรคมนาคมสมัยใหม่ ผ่านการก่อสร้างห้องปฏิบัติการแรกที่มหาวิทยาลัยซิกใน 1879 ของเขา, Wilhelm Wundt เป็นเครดิตกับสถานประกอบการของจิตวิทยาเป็นอิสระเชิงประจักษ์ วิทยาศาสตร์ Alexander von Humboldt ในฐานะนักวิทยาศาสตร์ธรรมชาติและ explorer เป็นพื้นฐานเพื่อชีวภูมิศาสตร์
การนำเข้าและส่งออกของเยอรมนีในปี 2553 จัดว่าอยู่ในทิศทางที่ดี มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยการนำเข้า มีมูลค่ารวมมากกว่า 800,000 ล้านยูโร ส่วนการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 18% คิดเป็นมูลค่ารวมประมาณ950,000 ล้านยูโร โดยในจำนวนนี้ 95% ส่งออกไปยังตลาดยุโรป และกว่า 11% ส่งออกไปยังตลาดเอเชีย โดยเฉพาะจีน ซึ่งมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 5.5%ของการส่งออกทั้งหมด นอกจากนี้ ในช่วงปี 2552-2553 อุตสาหกรรมยานยนต์ของเยอรมนีปรับตัวดีขึ้นมาก เนื่องจากการสั่งซื้อจากต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะจากจีน โดยในปี 2553 เยอรมนีส่งออกรถเพิ่มขึ้น 24% และการผลิตรถยนต์ในประเทศเพิ่มขึ้น 12%

กาศึกษา

           ในปัจจุบันมีจำนวนนักเรียนนักศึกษาทั้งหมด ประมาณ 12.6 ล้านคน ที่ประเทศมีครูอาจารย์ทั้งหมด ประมาณ 780,000 คน ตามที่โรงเรียนสถานศึกษากว่า 52,000 แห่งในเยอรมัน การศึกษาภาคบังคับเริ่มตั้งแต่อายุ 6 18 ปี รวมการศึกษาภาคบังคับทั้งหมด 12 ปี ซึ่งนักเรียนจำเป็นต้องเรียนหลักสูตรภาคบังคับแบบเต็มเวลานี้อย่างน้อย 9 ปี (ในบางรัฐ 10 ปี) หลังจากนั้นนักเรียนสามารถเลือกเรียนหลักสูตรสายอาชีพหรือฝึกงาน ซึ่งเป็นการเรียนแบบไม่เต็มเวลาได้ โรงเรียนเอกชนในเยอรมันมีไม่กี่แห่งที่ดำเนินการโดยนักสอนศาสนา โรงเรียนส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนรัฐบาล เรียนฟรีไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน หนังสือและตำราเรียนมักมีให้นักเรียนยืมไม่ต้องซื้อ แต่ถ้าจำเป็นต้องใช้ของส่วนตัวก็จะให้ผู้ปกครองบริจาคเงินตามกำลังทรัพย์ที่มี เมื่อนักเรียนอายุ 6 ปี จะเข้าเรียนชั้นประถมศึกษาเป็นเวลา 4 ปี หลังจากจบประถมศึกษาแล้วจึงศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษา แบ่งเป็น 4 ประเภทด้วยกัน Secondary General School (Houptschule) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาที่ให้การศึกษาวิชาพื้นฐานทั่วไป วิชาที่สอน ได้แก่ ภาษาเยอรมัน คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ธรรมชาติ สังคมวิทยา ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) และวิชาแนะนำวิชาชีพ เวลาเรียน 6 ปี หลังจบนักเรียนจะได้รับใบประกาศนียบัตรเพื่อเป็นประตูสู่การศึกษาสายวิชาชีพ Intermediate School (Realschule) เป็นโรงเรียนที่อยู่ระหว่างโรงเรียนมัธยมศึกษาที่ให้การศึกษาวิชาพื้นฐานทั่วไป (Secondary General School) กับโรงเรียนมัธยมศึกษาที่เน้นวิชาการ (Grammar School) หลักสูตรส่วนใหญ่จะเน้น วิชาพื้นฐานทั่วไป หลังจบหลักสูตร 6 ปี แล้วจะได้ประกาศนียบัตรเพื่อศึกษาต่อไปในระดับที่สูงขึ้น เช่น โรงเรียนอาชีวะ ที่ต้องเรียนเต็มเวลา ประมาณ 40% ของผู้จบโรงเรียนมัธยมจะได้ประกาศนียบัตรแบบนี้ Grammar School (Gymnasium) เป็นการศึกษาระดับมัธยมศึกษา 9 ปี เป็นการเรียนการสอนที่เน้นวิชาการ และเมื่อเรียนในระดับ เกรด 11 13 วิธีการเรียนจะแบ่งเป็นการเลือกกลุ่มวิชา (Course) ที่ถนัด เพื่อเน้นบางสาขาวิชาโดยเฉพาะ เพื่อเตรียมตัวเข้าเรียนมหาวิทยาลัยหลังจากจบเกรด 13 แล้ว Comprehensive School (Gesamtshule) เป็นการผสมผสานการเรียนการสอนของโรงเรียนมัธยมทั้ง 3 ประเภท เข้าด้วยกันภายใต้การบริหารหนึ่งเดียว นักเรียนเริ่มเรียนตั้งแต่เกรด 5 ถึง เกรด 10 และจะเริ่มเรียนวิชาเฉพาะทาง ในระดับเกรด 7 บางกลุ่มวิชาจะมีการแบ่งการเรียนออกเป็นกว่า 11 ระดับ แล้วแต่ความยากง่าย ข้อมูลทั่ว ๆ ไป

วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

10 เหตุผลดีๆ ที่ควรรู้เกี่ยวกับ ภาษาฝรั่งเศส

10 เหตุผลดีๆ ที่ควรรู้เกี่ยวกับ ภาษาฝรั่งเศส
1. ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาที่มีคนใช้พูดเป็นภาษาแม่และภาษาที่สองถึง 128 ล้านคน โดยเฉพาะในประเทศฝรั่งเศส แคนาดา(รัฐควิเบก) สวิซเซอแลนด์ เบลเยี่ยม นอกจากนี้ทางฝั่งแอฟริกาก็มีประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสด้วยเช่นกัน
ควิเบก,แคนาดา
เบลเยี่ยม
2. ฝรั่งเศสเป็นมหาอำนาจทางด้านเศรษฐกิจอันดับ 4 ของโลก นอกจากนี้ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นแม่แบบในกระบวนการทางกฎหมาย ซึ่งถ้าน้องๆสนใจที่จะเรียนต่อในด้านนิติศาสตร์แล้วละก็การมีความรู้ในด้านภาษาฝรั่งเศสไว้นั้น นับว่าได้เปรียบคนอื่นอยู่มากๆเลยทีเดียว
3. ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทษที่มีชื่อเสียงทางด้านวัฒนธรรม ทั้งด้านอาหาร แฟชั่น ศิลปกรรม ภาพยนตร์และวรรณกรรมต่างๆมากมาย เพราะฉะนั้นแล้ว น้องๆที่มีความสนใจทางด้านศิลปะวัฒนธรรม ก็ไม่ควรพลาดที่จะมีความรู้ด้านภาษาฝรั่งเศสไว้ประดับสมองเลยจ้า
4. ครั้งหนึ่งในชีวิตมนุษย์ ถ้ามีโอกาสได้ท่องเที่ยวในต่างประเทศ รับรองว่าหนึ่งในประเทศที่น้องใฝ่ฝันต้องมีประเทศฝรั่งเศสอยู่แน่นอน เพราะประเทศฝรั่งเศสมีสถานที่ที่น่าท่องเที่ยวมากมาย เช่น กรุงปารีส พระราชวังแวร์ซาย พิพิธภัณฑ์ลูฟ และสถานที่น่าสนใจในแคว้นต่างๆอีกมากมาย
พระราชวังแวร์ซาย
พิพิธภัณฑ์ลูฟ
5. รัฐบาลฝรั่งเศสมีนโยบายมอบทุนการศึกษาในระดับปริญญาโท หรือที่เรียกกันว่า ทุนไอเฟล ให้นักเรียนต่างชาติรวมถึงนักเรียนไทย ได้มีโอกาสไปศึกษาต่อในมหาลัยของประเทศฝรั่งเศส ในสาขาวิชาต่างๆมากมาย เช่น วิทยาศาสตร์ นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ และบริหารธุรกิจ นอกจากนี้ยังมีทุน Haif scholarships ซึ่งเป็นทุนศึกษาในระดับปริญญาเอกอีกด้วย
6. ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาทางการขององค์กรณ์ระหว่างประเทศที่สำคัญหลายองค์กรณ์ เช่นสหประชาชาติ สหภาพยุโรป องค์การยูเนสโก้ และยังเป็นภาษาที่ใช้ใน 3 เมืองสำคัญของทวีปยุโรป นั่นคือ Strasbourg , Bruxells , Luxemburg
7. ภาษาฝรั่งเศสมีความสำคัญเป็นอันดับ 3 ในโลกอินเตอร์เน็ต ดังนั้นการที่เรารู้ภาษาฝรั่งเศสก็จะทำให้เราสามารถรับรู้และเข้าใจข่าวสารของหลายๆประเทศในโลก
8. ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาที่ง่ายต่อการเรียนรู้ ชาวยุโรปส่วนใหญ่จึงนิยมเรียนภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาที่ 2 รองจากภาษาอังกฤษ เพราะฉะนั้นไม่ว่าน้องจะหลงอยู่ในประเทศใดในนยุโรป ถ้าน้องสามารถสื่อสารภาษาฝรั่งเศสได้ โอกาสที่น้องจะเอาตัวรอดได้มีสูงมาก
9. การเข้าใจภาษาฝรั่งเศสสามารถช่วยต่อยอดในการเรียนภาษาอื่นๆ เพราะภาษาฝรั่งเศสทีรากศัพท์มาจากภาษาละติน และกว่า 50% ของภาษาอังกฤษในปัจจุบัน มีส่วนคล้ายกับภาษาฝรั่งเศส นับว่าเป็นโอกาสดีของเด็กไทยที่จะเรียนรู้ภาษาฝรั่งเศสได้ง่ายขึ้น
10. ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาที่ไพเราะมาก จนถึงมากที่สุดเลยก็ว่าได้ ดังนั้นภาษาฝรั่งเศสจึงถูกเรียกว่าเป็นภาษาแห่งความรักกันเลยทีเดียว
นอกจากนี้เมื่อน้องได้เรียนภาษาฝรั่งเศสแล้ว น้องจะสามารถอ่านฉลากผลิตภัณฑ์ความงาม ไวน์ ขนมปัง เมนูอาหาร และอีกมากมายได้ คิดดูสิจ๊ะว่าการมีภาษาฝรั่งเศสประดับหัวสมองนั้น ไม่มีคำว่า เสียเปรียบใครแน่นอนจ้า =D

วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

มารยาทแบบเยอรมัน

มารยาทที่ควรรู้สำหรับการใช้ชีวิตที่เยอรมัน


1.   นัดก่อนเสมอ

คนเยอรมันเคร่งครัดเรื่องเวลาและความเป็นส่วนตัว  ก่อนที่จะไปหาใครไม่ว่าที่ทำงานหรือที่บ้านให้ส่งเมลไปนัดก่อนเสมอ เพื่อที่จะให้อีกฝ่ายหนึ่งมีเวลาตั้งตัว  อย่าจู่ ๆ โผล่พรวดเข้าไปเพราะจะทำให้เกิดความตกใจ โกลาหล  อลหม่าน  และจะไม่ได้รับการต้อนรับที่ดี


2.  อย่าทำให้ใครหยุดชะงักกลางทาง

เมื่อคนเยอรมันเริ่มออกจากอาคารแล้วกำลังมุ่งหน้าไปที่ใดสักแห่งอย่าได้พยายามทักเพื่อให้เขาหยุดเดินแล้วมาสนใจเรา  เพราะก่อนออกจากอาคารเขาได้เช็คตารางการเดินรถเมล์หรือรถไฟไว้แล้ว  และเขากะแล้วว่าเมื่อเริ่มออกจากอาคารเวลานี้จะต้องไปทันรถแน่ ๆ  หากเราทำให้เขาชะงัก  เขาจะเสียเวลาไปไม่ทันรถ  เขาจะโกรธเอาได้  ทางที่ดีควรเดินไปคุยกันไป  หรือรอให้ไปถึงสถานีรถไฟฟ้าก่อนแล้วค่อยคุย  หรืออาจจะคุยกันในรถไฟฟ้าก็จะดีกว่า  เพราะเขาจะมีเวลาคุยด้วยเต็มที่หลังจากขึ้นรถแล้ว


3.  อย่าเรียกชื่อหน้า

คนไทยนิยมเรียกชื่อหน้า เช่น คมสัน  แต่เราจะเรียกชื่อหน้าของชาวเยอรมันไม่ได้ถ้าไม่ใช่เพื่อนสนิทกัน  เช่น  ดร. กุนเธ่อร์ มันสเก้  เราจะต้องเรียกว่า ดร. มันสเก้  ไม่ใช่  ดร. กุนเธ่อร์  


4. ให้จับมือด้วยทุกครั้ง

ชาวเยอรมันถือเรื่องการจับมือ  อย่างน้อยในการทักทายควรยื่นมือขวาให้อีกฝ่ายหนึ่งจับ ไม่ว่าจะเป็นผู้ชายหรือผู้หญิง  ไม่ต้องคิดว่าจะเป็นการแต๊ะอั๋ง เพราะไม่มีใครคิดอย่างนั้นกัน  ถ้าไม่ยอมจับมือจะเป็นการแสดงความรังเกียจอีกฝ่าย  เวลาจับมือให้บีบแรงพอสมควร อย่าเกรงใจจนไม่ออกแรงบีบมือเลย  เพราะคนเยอรมันจะถือว่าเหมือนกับเราไม่พอใจจะจับมือเขา   แต่ก็อย่าบีบแรงเกินไปจนอีกฝ่ายหนึ่งเจ็บ


5.  อย่าใส่หมวกเข้าไปในอาคาร

ให้ถอดหมวกทุกครั้งที่เข้าไปในอาคาร  และหากพบกับใครนอกอาคาร  ก็ควรถอดหมวกออกก่อนในเวลาที่กล่าวทักทายกันแล้วใส่กลับไปใหม่



6.  ชายหญิงเท่าเทียมกัน

อย่าพยายามมองว่าหญิงชาวเยอรมันจะทำอะไรสู้ผู้ชายไม่ได้  บางทีเมื่อเราอยู่บนรถเมล์แล้วเห็นผู้หญิงยืนอยู่แล้วเราลุกให้เขานั่ง  ถือว่าเป็นการสบประมาท  เพราะเขาจะมองว่าเราดูถูกความสามารถของเขา  เนื่องจากเขาถือว่าชายหญิงแข็งแรงเท่ากัน  หญิงเยอรมันสร้างชาติกลับคืนมาหลังจากความพินาศย่อยยับหลังสงครามโลกครั้งที่สอง  และนายกรัฐมนตรีก็เป็นหญิง (นางอังเกล่า แมเกิ้ล)



7.  อย่าลัดคิวเด็ดขาด

คนเยอรมันถือเรื่องคิวมาก ๆ   ใครบังอาจลัดคิวมีเรื่องถึงเรียกตำรวจมาตักเตือน  หรือไม่ทุกคนก็จะมองอย่างรังเกียจ  
  


8.  การแยกขยะถือเป็นมารยาทสำคัญ

ถังขยะที่เยอรมันจะมีหลายสีสำหรับขยะหลายประเภท  เช่น  กระดาษ  พลาสติก  แก้ว และเศษขยะ   การทิ้งขยะในถังขยะไม่ถูกประเภทจะถูกมองว่าเป็นคนไร้การศึกษา  เพราะชาวเยอรมันได้รับการสอนเรื่องการแยกขยะมาตั้งแต่เด็ก


9.   คนเยอรมันรักความสะอาด

อย่าพยายามทำให้ห้องรกรุงรัง  ทั้งห้องทำงานและห้องที่บ้านพัก  เพราะถ้าเพื่อน ๆ เข้ามาเห็นสภาพความรกรุงรังแล้วจะรับไม่ได้  เพราะคนเยอรมันชอบความสะอาด  ชาวเยอรมันจะชอบให้ทุกอย่างสะอาดแบบหมดจดทั้งในที่สาธารณะและที่ส่วนตัว   ดังนั้นเราต้องหมั่นทำความสะอาดห้องต่าง ๆ ที่อยู่ในความรับผิดชอบของเราอยู่เสมอ


10.  อย่าข้ามถนนในที่ ๆ ไม่ได้จัดไว้ให้ข้าม

คนจะข้ามถนนได้ก็ต่อเมื่อมีทางม้าลายและมีสัญญาณไฟให้ข้ามได้เท่านั้น  ก่อนข้ามเราต้องกดขอสัญญาณก่อน จากนั้นรอสักพักจะมีไฟเขียวให้เราข้ามได้  หากยังเป็นไฟแดงแม้ว่าไม่มีรถก็อย่าข้าม  เพราะหนึ่ง  อาจจะมีรถมาอย่างเร็วมากและชนเราได้  เขาจะไม่ผิดด้วย  เพราะสัญญาณบอกให้เขาไปได้  และสอง  อาจมีตำรวจดักปรับเราอยู่อีกฝั่งหนึ่ง



11. ก่อนเข้าไปซื้อของ  ถ้ามีกระเป๋าให้ฝากไว้ที่ล็อคเกอร์ก่อน

สังเกตว่าซูเปอร์มาร์เก็ตบางแห่งจะมีล็อคเกอร์จัดไว้ให้ลูกค้า  เราต้องมีเหรียญ 1 ยูโรติดตัวไว้  เพื่อที่จะเอาไว้เช่าล็อคเกอร์ (จะได้คืนเมื่อกลับมาเอาของ)  หากไม่ยอมฝากของไว้ก่อน  ตอนออกมาจ่ายเงินจะถูกค้นกระเป๋า  ทำให้เสียเวลามาก  และเกิดความหงุดหงิดทั้งเราและทั้งฝ่ายผู้ขาย    นอกเสียจากบางห้างที่มีระบบกันขโมยอยู่แล้วจะไม่ต้องฝากกระเป๋า  เพราะถ้าใครหยิบอะไรติดออกมาโดยไม่จ่ายเงินรับรองมีเสียงดังเกิดขึ้นแน่นอน



12. เวลาทักคนเยอรมัน ควรเริ่มทักเป็นภาษาเยอรมัน

อย่าคิดว่าคนเยอรมันจะรู้ภาษาอังกฤษ  เขาอาจจะรู้บ้างแต่ไม่รู้มาก  เมื่อเขาเห็นว่าเราเป็นคนต่างชาติเขาจะไม่เข้ามาทักเราก่อนค่อนข้างแน่นอน เพราะกลัวว่าจะพูดอังกฤษไม่ถูก  ดังนั้น  เราจึงควรแสดงความเป็นมิตรก่อนโดยการพูดภาษาเยอรมันสักคำ เช่น  กู๊ด-เท่น-ท๊าค  แปลว่าสวัสดีครับ หรือสวัสดีค่ะ  อย่างน้อยเขาเห็นว่าเรามาแบบเป็นมิตร  คนเยอรมันก็จะพยายามช่วยเรา  โดยปกติคนเยอรมันจะใจดี  แต่เขากลัวว่าจะสื่อสารกับเราไม่รู้เรื่องเพราะเป็นเขาเองที่ไม่รู้ภาษาอังกฤษ



13.  เวลาพูดกับคนเยอรมันอย่าเยิ่นเย้อ  ให้ตรงประเด็นไปเลย

คนเยอรมันเป็นคนตรง ๆ ไม่ชอบเวลาใครพูดอะไรเยิ่นเย้อ  ถ้าเราอยากจะขออะไรจากคนเยอรมันก็ขอตรง ๆ  ถ้าเขาทำได้ก็จะบอกว่าได้  ถ้าไม่ได้ก็จะบอกว่าไม่ได้  ไม่มีคำตอบแบบห้าสิบห้าสิบชนิดที่ต้องมาตีความกันว่าตกลงเขาจะให้หรือไม่ให้ อะไรอย่างนี้คนเยอรมันไม่มี    ภาษาอังกฤษแบบสุภาพและวกไปวนมากว่าจะเข้าเรื่องนั้นอาจจะดีหากใช้กับคนอังกฤษ  แต่สำหรับคนเยอรมันแล้วจะคิดว่า "นี่เขาต้องการอะไรกันแน่  เห็นฉันเป็นตัวตลกหรือมีเวลาว่างมากนักหรืออย่างไร ถึงได้พูดเสียอ้อมค้อมอย่างนั้น"  สรุปแล้วตรงไปตรงมากับคนเยอรมันจะดีที่สุด


14.  ต้องมีเหตุผล

ถึงคนเยอรมันจะเป็นคนตรง ๆ  ขออะไรก็ขอได้ตรง ๆ แต่ต้องมีเหตุผล  ไม่ใช่ว่าจู่ ๆ มาขอโดยไม่มีเหตุผล  เขาจะไม่ยอมให้แน่   คนเยอรมันต้องการเหตุผลที่เป็นความจริง (Fact)  มากกว่าเหตุผลที่เป็นความรู้สึก   เราจึงต้องบอกว่า  เพราะอย่างนี้มันถึงต้องมาขอ  ไม่ใช่บอกว่า ขอเถ๊อะ ขอเถ๊อะ ขอช่วยเราหน่อยเถ๊อะ  แบบนี้คนเยอรมันจะว่าท่าจะบ้า  ไม่มีเหตุผลเอาซะเลย  แบบนี้คงช่วยไม่ได้


15.  ทำตามแผนที่วางไว้อย่างเคร่งครัด

คนเยอรมันเวลาจะทำอะไรนั้นจะประชุมกันก่อน  เมื่อได้ข้อสรุปแล้วก็จะลงมือปฏิบัติตามนั้นแบบเป๊ะ ๆ  ไม่มีการนอกคอก  หากใครเกิดนอกคอกคนอื่นจะงงทันทีว่าทำไมถึงทำอย่างนั้น  ไหนพูดกันไว้แล้วทำไมถึงไม่ทำตามที่ตกลงกันไว้  จะเกิดความสับสนทันที   ดังนั้นหากต้องการจะเปลี่ยนแปลงอะไรควรต้องกลับมาประชุมกันอีกครั้งก่อนเพื่อตกลงกันใหม่  ไม่ใช่อยู่ ๆ ก็ทำตามใจตัวเองทันที


16. อย่าพูดเล่นถ้าไม่สนิท

คนเยอรมันถือว่าความจริงจังเป็นมารยาททางสังคม  หากไม่ใช่เพื่อนสนิทกันอย่าพยายามพูดเรื่องตลก  โจ๊ก หรือเรื่องล้อเล่นใด ๆ อย่างเด็ดขาด เขาจะมองว่าเราเป็นคนต่ำชั้นกว่าทันที  ในการนำเสนออะไรให้คนเยอรมันฟังต้องเคร่งครัดเรื่องโครงสร้างการนำเสนอ  ใช้คำพูด ท่าทาง และน้ำเสียงที่จริงจัง  นำเสนอแต่ข้อมูลที่เป็นความจริง (Fact)  อะไรที่คาดเดาเอาเองไม่ให้นำเสนอ  และอะไรที่เป็นมุขตลกอย่าได้นำเสนอ    แต่ถ้าเมื่อไรสนิทกันแล้วคนเยอรมันจะกลายเป็นคนที่สนุกสนานและเอาแต่คุยเรื่องตลก  ก็แปลกดี


17. คนเยอรมันตัดสินใจด้วยข้อมูลรอบด้าน

อย่าได้ให้ข้อมูลด้านเดียว   จงให้ข้อมูลทุกเรื่องและทั้งด้านดีและด้านไม่ดี   เช่น  หากมีคนสมัครเข้าทำงานอยู่ 10 คน  อย่ากระโจนบอกว่าคนที่ดีคือคนที่ 1 3 และ 5  แต่จงไล่มาทีละคนว่าคนแรกเป็นใคร ดีอย่างไร ไม่ดีอย่างไร     ต่อมาคนที่สองเป็นอย่างไร ดีอย่างไร ไม่ดีอย่างไร   ทำอย่างนี้จนครบทุกคน  จากนั้นให้สร้างเกณฑ์ที่ใช้ในการตัดสินขึ้นมา  แล้วตัดสินไปตามเกณฑ์    ทำอย่างนี้อาจจะใช้เวลามากสักหน่อย  แต่คนเยอรมันอดทนที่จะฟังข้อมูลให้ครบทุกด้านได้อย่างน่าประหลาดใจ  เขาจะไม่พยายามตัดสินใจถ้าไม่ได้ฟังครบทุกด้านก่อน
 

18.  รักษาตำแหน่งของตัวเอง

เมื่อคนเยอรมันได้รับมอบหมายให้ทำอะไรในตำแหน่งไหนแล้ว เขาจะรับผิดชอบในตำแหน่งนั้นอย่างถึงที่สุด  ไม่ทิ้งตำแหน่งของตัวเอง  นั่นคือการทำงานแบบเป็นกลไก (mechanism) สไตล์เยอรมันขนานแท้   เมื่อกลไกส่วนอื่นส่งงานมาให้เขา  ทุกคนจะคาดหวังได้ว่าเขาจะต้องสานต่อได้  เหมือนสายพานการผลิต  ไม่มีใครที่อยู่ ๆ ก็หายไปจากตำแหน่งของตัวเอง      วิธีคิดเช่นนี้สังเกตได้ในการเล่นฟุตบอลของทีมชาติเยอรมัน  อาจจะดูแข็ง ๆ และไร้จินตนาการ  แต่ทุกคนรักษาตำแหน่งอย่างแข็งขันและเป็นระเบียบ   แต่ข้อเสียของระบบนี้ก็คือหากมีใครหายไปสักตำแหน่งก็รวนกันทั้งระบบ  ดูอย่างตอนที่แพ้สงครามโลกครั้งที่สองก็เพราะบางตำแหน่งโดนโจมตีพังไป  ทำให้ต่อเกมส์กันไม่ติด  ไม่มีการรวมศูนย์การตัดสินใจที่สามารถปรับเปลี่ยนระบบได้อย่างยืดหยุ่นพอ  เมื่อต่างคนต่างคิดว่าจะเอาอย่างไรต่อไปก็ไม่ทันเสียแล้ว



19.  งานมาก่อน ความสัมพันธ์ส่วนตัวมาทีหลัง

เวลาทำงานกับคนเยอรมัน  เริ่มต้นมาก็ให้แนะนำตัวแค่บอกชื่อตัวเองก็พอ  อย่าเสียเวลาคุยเรื่องส่วนตัวนาน  ให้เข้าเรื่องงานเลยว่าตกลงพวกเราต้องทำอะไรกันบ้าง  แล้วก็ตกลงว่าเราควรจะทำอย่างไร  จากนั้นก็ทำไปตามที่ตกลงกัน    เพื่อนเยอรมันคนหนึ่งเคยไปสิงคโปร์บอกว่ากว่าจะเริ่มงานได้  ชาวสิงคโปร์พูดคุยทำความรู้จักกันนานมาก  จนเขารำคาญ  ผมก็ว่ามันไม่เหมือนกัน  ที่เอเชีย ความสัมพันธ์มาก่อน  งานมาทีหลัง   ถ้าความสัมพันธ์ไม่ดีงานจะไม่เดิน   เพื่อนเยอรมันก็บอกว่าที่เยอรมันงานมาก่อน  ความสัมพันธ์มาทีหลัง   ถ้างานสำเร็จเสร็จเรียบร้อยแล้ว  คนเยอรมันจะแสดงความเป็นมิตร เช่น  พูดชวนไปทานกาแฟ  เป็นต้น  นั่นแสดงว่าเขาเปิดใจมาให้เราเป็นมิตรกับเขาแล้ว



20. ไม่ต้องกังวลถ้าคนเยอรมันไม่พูดชมซึ่งหน้า  แต่เขาจะช่วยเราในเวลาคับขัน

คนเยอรมันเวลาชื่นชมผลงานของใครจะไม่พูดออกมาตรง ๆ ว่าชอบ    แต่จะแสดงออกว่าชอบคน ๆ นี้โดยการหยิบยื่นช่วยเหลือให้ในยามคับขัน   ดังนั้นไม่ต้องคาดหวังว่าจะได้คำพูดหวาน ๆ จากคนเยอรมัน   แต่พวกเขากลับสามารถพึ่งพาได้อย่างดียิ่งเมื่อเกิดเรื่องร้ายแรงที่เราจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือ  แต่ถ้าอยากรู้จากปากของเขาว่าเขาชอบงานของเราไหม  ให้เอ่ยชมงานของเขาก่อน  แล้วเขาจะเปิดใจพูดถึงงานเราบ้าง