วันพุธที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2557

ประเทศ ตูวาลู

ประเทศ ตูวาลู

ตูวาลู (ตูวาลูและอังกฤษTuvalu) หรือเดิมเป็นที่รู้จักกันในชื่อ หมู่เกาะเอลลิซ (อังกฤษ:Ellice Islands) เป็นประเทศหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ชื่อประเทศแปลว่า "แปดยืนยง" (Eight Standing Together) ในภาษาตูวาลู นอกจากนครรัฐวาติกันแล้ว ตูวาลูเป็นประเทศอิสระที่มีประชากรน้อยที่สุดในโลก[ต้องการอ้างอิง] เนื่องจากมีความสูงต่ำ (สูงสุดคือ 5 เมตร) เกาะที่ประกอบเป็นประเทศนี้ อาจจะเกิดปัญหาถ้าระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต ในช่วงหลายทศวรรษข้างหน้า ประชากรอาจจะอพยพไปที่ประเทศนิวซีแลนด์หรือเกาะนีอูเอซึ่งเป็นเกาะเล็ก ๆ ที่เป็นปกครองตนเองแต่ขึ้นกับนิวซีแลนด์ที่ไม่มีปัญหาจากการเพิ่มของระดับน้ำทะเล แต่มีประชากรน้อยลง

ข้อมูลทั่วไป

ที่ตั้ง อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของออสเตรเลียประมาณ 4,000 กิโลเมตร อยู่กึ่งกลางระหว่างออสเตรเลียกับเกาะฮาวายพื้นที่26 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยเกาะขนาดเล็ก 9 เกาะ มีเขตเศรษฐกิจจำเพาะ 757,500 ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง กรุงฟูนะฟูตี (Funafuti)
ภูมิประเทศ หมู่เกาะล้อมรอบด้วยแนวหินปะการังและแนวหินโสโครกที่กว้างใหญ่
ภูมิอากาศ เขตร้อนแถบทะเลเส้นศูนย์สูตร

เชื้อชาติ 
-โพลินีเซีย (Polynesian) ร้อยละ 96
-ไมโครนีเซีย (Micronesian) ร้อยละ 4
ศาสนา คริสต์
ภาษา อังกฤษ ตูวาลวน (Tuvaluan) และภาษาพื้นเมืองกิลเบิร์ท
หน่วยเงินตรา ดอลลาร์ออสเตรเลีย
วันชาติ 1 ตุลาคม 2521 (ค.ศ. 1978) ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักร
อุตสาหกรรม ประมง ท่องเที่ยว มะพร้าวแห้ง
สินค้าส่งออก มะพร้าวแห้ง สินค้าหัตถกรรม
ตลาดส่งออก สหรัฐอเมริกา อิตาลี
สินค้านำเข้า อาหาร เครื่องจักรและอุปกรณ์ สินค้าอุตสาหกรรม น้ำมัน
ตลาดนำเข้า ฟิจิ ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย เยอรมนี
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ตูวาลูมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ ออสเตรเลีย และฟิจิ รวมทั้งได้ลงนาม Treaty of Friendship กับสหรัฐฯ ในปี 2522 (ค.ศ. 1979) นอกจากนี้ ตูวาลูยังเป็นประเทศหนึ่งในแปซิฟิกใต้ที่สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับไต้หวัน โดยสถานเอกอัครราชทูตไต้หวันเป็นสำนักงานผู้แทนการทูตเพียงแห่งเดียวในตูวาลู โดยไต้หวันได้ให้ความช่วยเหลือแก่ตูวาลูเป็นจำนวนมาก
ตูวาลูเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ และมีคณะผู้แทนประจำสหประชาชาติที่นครนิวยอร์ก รวมทั้งมีสำนักงานผู้แทนทางการทูตที่กรุงซูวา ประเทศฟิจิ
ความสัมพันธ์กับไทย
ไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับตูวาลูเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2548 การค้าระหว่างไทยกับ ตูวาลูอยู่ในอัตราที่ไม่สูงมาก ในปี 2547 มีมูลค่าประมาณ 2 แสนดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยเป็นผู้ส่งออกทั้งหมด สินค้าที่ไทยส่งออกไปตูวาลู คือ ผ้าผืน และอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป

ประวัติศาสตร์
ชาวสเปนเป็นพวกแรกที่เข้ามาพบหมู่เกาะแห่งนี้ ในระหว่างการเดินทางเพื่อค้นหาดินแดนแห่งใหม่ทางตอนใต้ แต่ก็ไม่ให้ความสนใจเท่าใด ต่อมามีชาวอังกฤษเดินเรือเข้ามาพบและได้ตั้งชื่อว่า หมู่เกาะเอลลิซ ตามชื่อของนักการเมืองอังกฤษที่เป็นเจ้าของเรือ ต่อมากลายเป็นชื่อเรียกหมู่เกาะ
ใน พ.ศ. 2435 หมู่เกาะเอลลิซกลายเป็นดินแดนในอารักขาของอังกฤษ หลังจากนั้นก็ถูกรวมเข้ากับหมู่เกาะกิลเบิร์ต (ปัจจุบันคือคิริบาส) เป็นอาณานิคมของอังกฤษ กองทัพสหรัฐอเมริกาเข้ายึดครองหมู่เกาะเอลลิซในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองเพื่อเป็นที่มั่นสำหรับต่อต้านทหารญี่ปุ่นที่ยึดครองหมู่เกาะกิลเบิร์ต หลังสงครามเกิดความตึงเครียดระหว่างประชากรของหมู่เกาะกิลเบิร์ตกับประชากรของหมู่เกาะเอลลิซ หมู่เกาะเอลลิซจึงได้แยกตัวออกมา และเป็นประเทศเอกราชในเครือจักรภพอังกฤษเมื่อ พ.ศ. 2521
                                                                                                                                                              ภาพชาวตูวาลู วาดโดย Alfred Agate เมื่อ ค.ศ. 1841

ที่ตั้ง

อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของออสเตรเลียประมาณ 4,000 กิโลเมตร อยู่กึ่งกลางระหว่างออสเตรเลียกับเกาะฮาวายพื้นที่26 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยเกาะขนาดเล็ก 9 เกาะ มีเขตเศรษฐกิจจำเพาะ 757,500 ตารางกิโลเมตร

เศรษฐกิจ

สหประชาชาติจัดให้ตูวาลูอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนาน้อยที่สุด เนื่องจากประเทศมีขนาดเล็กทรัพยากรธรรมชาติไม่อุดมสมบูรณ์ และมีข้อจำกัดในการพัฒนาทางเศรษฐกิจ นอกจากนั้น ตูวาลูยังประสบปัญหาภัยธรรมชาติบ่อยครั้ง ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและประมงเพื่อการยังชีพ และสองในสามของการ จ้างงานในประเทศคือการจ้างงานของภาครัฐ รายได้หลักของประเทศมาจากการให้สัมปทานทำประมง เงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ โดยเฉพาะจากสหราชอาณาจักร ประเทศนิวซีแลนด์ และประเทศออสเตรเลีย และรายได้จากแรงงานที่ไปทำงานในต่างประเทศ นอกจากนี้ ตูวาลูยังมีรายได้จากกองทุนตูวาลู และการให้เช่าอินเทอร์เน็ตโดเมนเนม

ประชากร

ประเทศตูวาลูมีประชากร 10,441 คน (พ.ศ. 2548) ประเทศตูวาลูมีประชากรหนาแน่นพอๆกันกับประเทศนาอูรู แต่มีประชากรน้อยกว่าประเทศนาอูรู
ประเทศตูวาลูจะมี นกกีวี อยู่เป็นจำนวนมาก และมีพืชพันธ์ไม่ป่า เขตร้อนอยู่

การแบ่งเขตการปกครอง

ตูวาลูแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 9 เกาะและหมู่เกาะ มีอยู่ 5 แห่งที่เป็นอะทอลล์หรือเกาะปะการัง (atoll) โดยเขตการปกครองท้องถิ่นที่ประกอบด้วยเกาะหนึ่งเกาะ ได้แก่
ส่วนเขตการปกครองท้องถิ่นที่ประกอบด้วยเกาะมากกว่าหนึ่งเกาะ ได้แก่
  • นานูมากา (Nanumaga)
  • นีอูลากีตา (Niulakita)
  • นีอูตาโอ (Niutao)                                                                                                                                                                                                                                                                                           
เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน (อังกฤษFerdinand Magellan), ฟีร์เนา ดี มากาลไยช์(โปรตุเกสFernão de Magalhães) หรือ เฟร์นันโด เด มากายาเนส (สเปนFernando de Magallanes) เป็นนักเดินเรือชาวโปรตุเกส มีชีวิตอยู่ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถและสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 แห่งกรุงศรีอยุธยา เขาเกิดที่เมืองซาบรอซา ทางภาคเหนือของประเทศโปรตุเกส หลังจากรับราชการทหารที่อินเดียตะวันออกและโมร็อกโก มาเจลลันได้เสนอตัวทำงานให้กับพระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งสเปนเพื่อค้นหาเส้นทางเดินเรือทางทิศตะวันตกสู่ "หมู่เกาะเครื่องเทศ" (หมู่เกาะโมลุกกะในประเทศอินโดนีเซียในปัจจุบัน) เขาจึงได้รับสัญชาติสเปนด้วย
มาเจลลันได้เดินเรือออกจากเมืองเซบียาในปี พ.ศ. 2062 การเดินทางในช่วง พ.ศ. 2062-2065ของเขาเป็นการเดินเรือจากมหาสมุทรแอตแลนติกเข้าสู่มหาสมุทรที่มาเจลลันตั้งชื่อว่า "แปซิฟิก" เป็นครั้งแรก และยังเป็นการเดินทางรอบโลกครั้งแรกอีกด้วย แต่ตัวมาเจลลันเองไม่ได้เป็นผู้นำการเดินเรือรอบโลกตลอดเส้นทาง เนื่องจากถูกชนพื้นเมืองฆ่าตายที่เกาะมักตันในหมู่เกาะฟิลิปปินส์เสียก่อน (อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้มาเจลลันเคยเดินทางจากยุโรปไปทางตะวันออกสู่คาบสมุทรมลายูมาแล้ว จึงเป็นนักสำรวจคนแรก ๆ ที่เดินทางข้ามเส้นเมอริเดียนเกือบทุกเส้นบนโลก) จากลูกเรือ 237 คนที่ออกเดินทางไปกับเรือ 5 ลำ มีเพียง 18 คนที่สามารถเดินเรือรอบโลกได้สำเร็จและกลับไปสเปนได้ในปี พ.ศ. 2065[1][2] นำโดยควน เซบัสเตียน เอลกาโน นักเดินเรือชาวบาสก์ซึ่งทำหน้าที่บัญชาการเดินเรือแทนมาเจลลัน ส่วนลูกเรือลำอื่น ๆ อีก 16 คนมาถึงสเปนในภายหลัง โดย 12 คนในจำนวนนี้ถูกโปรตุเกสคุมตัวที่หมู่เกาะเคปเวิร์ดระหว่าง พ.ศ. 2068-2070 และอีก 4 คนเป็นผู้รอดชีวิตจากเรือตรีนีดัดที่เดินทางไปด้วย แต่เรือแตกในหมู่เกาะโมลุกกะ
ชื่อของมาเจลลันยังถูกนำไปตั้งเป็นชื่อของ "เพนกวินมาเจลลัน" ซึ่งเชื่อกันว่าเขาเป็นชาวยุโรปคนแรกที่ค้นพบ,[3] "เมฆมาเจลลัน" ซึ่งเขาสังเกตเห็นระหว่างการเดินเรือ ปัจจุบันเป็นที่ทราบกันแล้วว่าที่จริงเมฆนี้เป็นกลุ่มดาราจักรแคระใกล้กับดาราจักรทางช้างเผือก, "ช่องแคบมาเจลลัน" เส้นทางที่มาเจลลันใช้เดินเรือเข้าสู่มหาสมุทรแปซิฟิก และ "ยานมาเจลลัน" ยานสำรวจที่องค์การนาซาส่งไปสำรวจดาวศุกร์ในช่วงปี พ.ศ. 2533-2534
เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน
Hernando de Magallanes del museo Madrid.jpg
เกิดฟีร์เนา ดี มากาลไยส์
พ.ศ. 2023
ซาบรอซาโปรตุเกส
เสียชีวิต27 เมษายน พ.ศ. 2064 (อายุ 40-41 ปี)
เกาะมักตันฟิลิปปินส์
สัญชาติโปรตุเกสสเปน
รู้จักในสถานะเป็นผู้นำการเดินเรือรอบโลกครั้งแรก
Magellan Signature.svg