วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ด้วงก้นกระดก

 

 ด้วงก้นกระดก


  " ด้วงก้นกระดก " ด้วงปีกสั้น หรือ ด้วงก้นงอน (Rove beetle) อันดับ Coleoptera วงศ์ Staphyinidae พบกระจายทั่วโลก กว่า 20 ชนิด สำหรับชนิดที่พบได้ในประเทศไทยมีชื่อวิทยาศาสตร์คือ Paederus fuscipes Curtis. เป็นด้วงขนาดเล็กประมาณ 7 มม. ส่วนหัวมีสีดำ ปีกน้ำเงินเข้ม และส่วนท้องมีสีส้มมีความสามารถในการเคลื่อนไหว ได้รวดเร็ว และมักจะงอส่วนท้องส่ายขึ้นลงเมื่อเกาะ อยู่กับพื้น จึงมักเรียกว่า "ด้วงก้นกระดก" ด้วงชนิดนี้อาศัยบริเวณพงหญ้าที่มีความชื้น ด้วงชนิดนี้สามารถปล่อยสารที่เรียกว่า "paederin" ออกมา สารชนิดนี้มีความเป็นพิษทพลายเนื้อเยื่อ
       ด้วงชนิดนี้ชอบออกมาเล่น ไฟในยามค่ำคืน โดยเฉพาะจะมีมากในฤดูฝน ผู้ที่สัมผัสลำตัวด้วงชนิดนี้ หรือตบตีจนน้ำพิษแตก จะมีอาการปวดแสบปวดร้อน คัน ในรายที่เป็นมาก อาจมีไข้ปวดศรีษะ หากเข้าตาอาจทำให้ตาบอดได้ แผลจะมีลักษณะเป็นทางยาว อาจจะพบเป็นตุ๋มใส (vesicle) อาการเหล่านี้จะหายเองได้ภายใน 7 - 10 วัน ควรทำความสะอาดแผลและปิดปากแผลเพื่อป้องกันการติดเชื้อ อาจใช้ยาสมานแผลพวกยาแก้แพ้ได้ เบื้องต้นหลังจากทราบว่าสัมผัสด้วงชนิดนี้ควรล้างด้วยน้ำสะอาดทันที หากอาการไม่ดีขึ้นให้พบแพทย์
       ด้วงก้นกระดกมีการเจริญ เติบโตแบบสมบูรณ์ (Complete metamorphosis) โดยมีการเจริญเติบโตแบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ ไข่ ตัวอ่อน ดักแด้ และตัวเต็มวัย
       ระยะไข่ โดยปกติแล้วจะพบเห็นการวางไข่ของตัวเมียในพื้นที่ที่มีความชื้นสูง เช่น ในดินร่วนที่มีวัตถุเน่าเปื่อยปกคลุม ที่ใกล้แหล่งน้ำ ซึ่งห่างจากผิวน้ำเล็กน้อย ในหนึ่งวันตัวเมียจะสามารถวางไข่ได้หลายฟอง โดยจะใช้เวลาในการฟัก 2 - 5 วัน จึงจะเป็นตัวอ่อน
       ตัวอ่อน ลักษณะเป็นแบบ Compodieform ลำตัวค่อนข้างยาว (ส่วนท้องจะยาวกว่าส่วนอื่น) สามารถเห็นหัวได้ชัดเจน หนวดสั้น กรามแข้ง มีขา 6 ขา ส่วนท้องมีแพนหาง 2 เส้น ดำรงชีพด้วยการกินวัตถุเน่าเปื่อย และหนอนเล็กๆ ของแมลงที่อาศัยอยู่ในดิน ใช้เวลา 6 - 10 วัน จึงจะเข้าดักแด้
       ดักแด้ ลักษณะใกล้เคียงกับดักแด้ผีเสื้อ แต่มีขนาดเล็กกว่ามาก สามารถมองเห็นขาที่ติดข้างลำตัวได้ชัดเจน ใช้ระยะเวลา 3 - 4 วัน จึงจะเป็นตัวเต็มวัย
       ตัวเต็มวัย ลำตัวยาวแคบ ความยาวของลำตัวประมาณ 6.5 - 7.0 มิลลิเมตร ลำตัวเป็นเงามัน มีสีฉุดฉาด ส่วนหัวมีสีดำ หนวดค่อนข้างยาว มี 12 - 13 ปล้อง
       ประโยชน์ นอกจากพิษภัยที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น ด้วงก้นกระดกก็ยังมีประโยชน์ในทางการควบคุมแมลงทางการเกษตร โดยด้วงก้นกระดกจะช่วยกำจัดไข่หนอนผีเสื้อ เป็นการควบคุมการระบาดของแมลงศัตรูพืช และยังสามารถใช้ประโยชน์ทางด้านนิติเวชกีฏวิทยาได้อีกด้วย กล่าวคือด้วงก้นกระดกจะทำลายไข่และหนอนของแมลงวัน 

 อ้างอิง: http://www.ku.ac.th/e-magazine/sep50/agri/rove%20beetle.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น